“ยาเสพติด” สาเหตุของโรคจิตเวช และความรุนแรง

  • 11 พ.ค. 2563
  • 6769
หางาน,สมัครงาน,งาน,“ยาเสพติด” สาเหตุของโรคจิตเวช และความรุนแรง

 

นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การติดสารเสพติดจะนำไปสู่ภาวะ “สมองติดยา” โดยสารในตัวยาจะเข้าไปทำลายสมองส่วนคิด ทำให้การใช้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลเสียไป สมองส่วนอยาก จึงเข้ามามีอิทธิพลเหนือสมองส่วนคิด โดยเฉพาะช่วงอยากสารเสพติด ทำให้ผู้เสพติดทำอะไรตามใจตามอารมณ์มากกว่าเหตุผล ผู้ที่ใช้สารเสพติดจึงมักแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมา เช่น อารมณ์ก้าวร้าว หงุดหงิด ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ขาดความยับยั้งชั่งใจ นำไปสู่ความรุนแรงในสังคมที่พบเห็นอยู่บ่อย ๆ หากติดตามผู้ป่วยที่ติดสารเสพติดไปนาน ๆ จะพบว่า ส่วนใหญ่มักมีอาการทางจิตเวชร่วมด้วย เช่น เป็นโรคจิตหวาดระแวง ประสาทหลอนเรื้อรัง มีภาวะสมองเสื่อม จึงต้องได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างทันท่วงที การไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติดทุกชนิด จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด 

นพ.กิตต์กวี โพธิ์โน ผอ.รพ.จิตเวชนครพนมราชนครินทร์ กล่าวว่า แนวทางสังเกตผู้ป่วยติดยาก่อนก่อเหตุรุนแรง  คือ ชอบแยกตัว ไม่สุงสิงพูดจากับใคร หงุดหงิดง่าย พูดเสียงดัง โมโหง่าย บางรายมีอาการกระวนกระวาย ผุดลุกผุดนั่ง บ่นพึมพำคนเดียว ประสาทหลอน ตลอดจนอาจมีอาการมาก เช่น เตรียมสะสมอาวุธ พูดบ่นคนเดียวว่าจะมีคนมาทำร้าย ระแวง กลัว หรือพูดบ่นจะทำร้ายผู้อื่น หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ ให้รีบแจ้งผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโดยเร็ว เพื่อให้รับการดูแลช่วยเหลือป้องกันการเกิดความรุนแรงจากอาการทางจิตจากการใช้สารเสพติดต่อไป สำหรับวิธีการรักษา นั้น จะต้องรักษาควบคู่กันทั้งอาการทางจิตและการบำบัดเพื่อป้องกันการกลับไปเสพสารเสพติด รวมถึงความร่วมมือจากครอบครัว ญาติและสังคมเพื่อการให้โอกาสและกำลังใจ ไม่ควรพูดตำหนิ หรือดูถูก ควรให้เวลาและให้ความช่วยเหลือ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของการบำบัดอีกด้วย

หางานตามสาขาอาชีพ

JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved

jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด DBD

Top