โพสต์ด่าบริษัท ระวังเข้าข่ายหมิ่นประมาท

  • 23 พ.ค. 2566
  • 8703
หางาน,สมัครงาน,งาน,โพสต์ด่าบริษัท ระวังเข้าข่ายหมิ่นประมาท

อย่าล้อเล่นกับโลกออนไลน์ พูดผิดไป 1 นาที ชีวิตเปลี่ยนได้ทันที นะจ๊ะ

แม้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างคุณกับบริษัทเป็นเรื่องจริง ทำให้คุณรู้สึกไม่ดี ไม่สบายใจ แล้วคุณไปโพสต์ระบายลงสื่อออนไลน์ ก็ถือเป็นความผิดได้นะครับ

 

โพสต์แบบไหนเข้าข่ายความผิด ?

1. มีการระบุชื่อบริษัทชัดเจน

2. ในโพสต์มีข้อความที่สามารถทำให้คนอื่นเข้าใจได้ว่าเป็นบริษัทไหน ยังไงแล้ว เพื่อนใน Facebook หรือสื่ออื่น ๆ ส่วนใหญ่ก็รู้อยู่แล้วด้วย ว่าคุณทำงานที่ไหน หรือลาออกมาจากบริษัทไหน ฉะนั้น โพสต์แบบลอย ๆ ก็ไม่รอดนะครับ

 

ตัวอย่างโพสต์ที่เป็นความผิดและโทษที่ได้รับ !!

1. กรณียังทำงานอยู่ แล้วโพสต์ระบายลง FB เกี่ยวกับเรื่องเงินที่บริษัทจ่ายให้ โดยระบุว่าให้น้อย หรือประเด็นที่สื่อว่ามันไม่เป็นธรรมกับเรา แบบนี้ย่อมทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่า บริษัทกลั่นแกล้ง นายจ้างของบริษัทนี้ไม่ดี ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ในการบริหาร เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ถือเป็นความผิดที่ร้ายแรง ซึ่งนายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเลยครับ

2. กรณีลาออกจากบริษัทแล้ว มีการโพสต์หลังจากพ้นสภาพลูกจ้าง และในโพสต์มีข้อความที่ทำให้บริษัทเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ก็เป็นความผิดในข้อหาหมิ่นประมาท และไม่ว่าโพสต์นั้นจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง ก็ถือเป็นความผิดครับ

 

ปล. การหมิ่นประมาท คือการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม ในเรื่องที่ทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง

กรณีการโพสต์ลงสื่อออนไลน์ ก็เป็นการใช้ช่องทางเพื่อการใส่ความ  และ

ผู้อื่น = บริษัท ,นายจ้าง

บุคคลที่สาม = เพื่อนในสื่อออนไลน์  

 

เห็นได้ชัดเจนเลยนะครับ เรื่องการใช้สื่อออนไลน์ พูดผิดไป 1 นาที ชีวิตก็เปลี่ยน (ไปในทางที่ไม่ดี) ได้เลย สติคือสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาใช้ทุกครั้งก่อนจะสื่อสารอะไรไป ต้องคิดวิเคราะห์และพิจารณาให้ดีที่สุด ถ้าเรื่องนั้นทำให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อนเสียหาย อย่าโพสต์เลยครับ นำสื่อออนไลน์มาใช้ให้เกิดประโยชน์กันดีกว่า ไม่ว่าจะเป็น การหาความรู้ ติดตามข่าวสารบ้านเมือง ,การหารายได้ที่สุจริต ,การหางาน หรืออื่น ๆ ที่ไม่ส่งผลเสียให้ใคร ย่อมเป็นผลดีกับตัวเราแน่นอน

 

อีกสิ่งนึงที่สำคัญคือ หากมีปัญหาเกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ดีที่สุดคือ นายจ้างควรมีการพูดคุยเพื่อตกลงให้เข้าใจกันกับลูกจ้าง อย่านิ่งเฉย อย่าปล่อยปัญหานั้นไว้นานเกินไป ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อการดำเนินงานของลูกจ้างด้วยครับ เพราะเขาก็คงไม่มีกำลังใจทำงาน หากรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม

 

หรือไม่งั้น ลูกจ้างเองก็เข้าไปคุยด้วยเหตุและผลกับนายจ้างเลยครับ ถ้าปัญหานั้นไม่ถูกแก้ไขสักที ยังไงแล้ว การนำไประบายในโลกออนไลน์ก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไร มีแต่จะทำให้ปัญหานั้นหนักกว่าเดิม อาจส่งผลเสียระยะยาวด้วย โดยเฉพาะเรื่องของการหางาน ถ้าโดนไล่ออกมาแล้ว ประวัติคุณก็จะถูก blacklist หางานยากขึ้นอีก (ปกติงานก็หายากอยู่แล้ว)

ก็ถ้ารับเข้ามาแล้ว เสี่ยงทำให้บริษัทเสียหาย เลือกไม่รับย่อมดีกว่า จริงไหมครับ !!?

 

เครดิต  :  ทนายฝ้าย – ​ทนายหนุ่ม คลินิกกฎหมายแรงงาน

https://www.facebook.com/labourlawclinique/

 

คลิกสมัคร Job Fair Online BY JOBBKK 2021 ครั้งที่ 1

คลิกสมัคร เรซูเม่ด่วน

หางานตามสาขาอาชีพ

JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved

jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด DBD

Top