ผู้สมัครงาน
เทคโนโลยีฝนเทียมจากพระราชกรณียกิจของในหลวง ช่วยให้จอร์แดนสามารถแก้ไขปัญหาความแห้งแล้ง และมีน้ำเพียงพอต่อความต้องการของประชากร
จอร์แดนเป็นประเทศที่แห้งแล้ง และมีฝนตกน้อยต่อปี แต่เทคโนโลยีการทำฝนเทียมจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช ช่วยเปลี่ยนแปลงจอร์แดน และเป็นความหวังใหม่ของประเทศนี้
เทคโนโลยีการทำฝนเทียมถูกพัฒนาขึ้นโดยในหลวงตั้งแต่ปี 2512 โดยใช้หลักการเพิ่มความหนาแน่นของเมฆ ให้กลั่นตัวมาเป็นน้ำฝน รายงานจากโมฮัมหมัด ซามาวี อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาของจอร์แดนกล่าวว่า ประเทศนี้เป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนน้ำมากที่สุดของโลก
ซึ่งการขาดแคลนน้ำนั้นตามมาด้วยปัญหาสุขภาพของคนในประเทศ ยิ่งในปัจจุบันที่การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และภาวะโลกร้อนกำลังเป็นปัญหา จอร์แดนยิ่งต้องเผชิญกับการขาดแคลนน้ำมากยิ่งขึ้นง
โครงการฝนเทียมในจอร์แดนนั้นได้รับการสนับสนุนโดยกองทัพอากาศ กระทรวงน้ำ และกระทรวงเกษตร หลังได้รับการอนุญาตให้ใช้เทคโนโลยีจากไทยได้ เมื่อปี 2552 และสองประเทศได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกันเมื่อวันที่ 23 มีนาคม เพื่อนำความรู้และความเชี่ยวชาญจากไทย ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งของจอร์แดน
อย่างไรก็ดีนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่จอร์แดนใช้เทค โนโลยีในการแก้ปัญหาความแห้งแล้ง ซามาวีกล่าวว่า จอร์แดนเคยพยายามสร้างฝนเทียมด้วยตัวเองมาแล้วในช่วงปี 2532 - 2538 แต่การทดลองไม่เป็นผลเพราะข้อจำกัดทางเทคนิค
ปัจจุบันทรัพยากรน้ำของจอร์แดนมีประมาณ 800 - 900 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งเพียงพอต่อการบริโภคของประชากรราว 3 ล้านคน แต่การขยายจำนวนของประชากรที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คาดการณ์ว่าอนาคตจอร์แดนอาจมีประชากรมากถึง 10 ล้านคน ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวจะมีส่วนช่วยได้มาก รวมถึงพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน
cr.โพสต์ทูเดย์
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved