ผู้สมัครงาน
เมื่อกระแสการขนส่งกำลังมาแรง ทำให้ธุรกิจการขนส่งของภาคใต้เติบโตอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะชายฝั่งทะเลตะวันออก ตั้งแต่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา และจากหลายปีก่อนที่มีนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ อินโดนีเซีย – มาเลเซีย และไทย ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระบบขนส่งทางการค้าระหว่างประเทศกับภาคใต้ของไทย
เมื่อกระแสการขนส่งกำลังมาแรง ทำให้ธุรกิจการขนส่งของภาคใต้เติบโตอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะชายฝั่งทะเลตะวันออก ตั้งแต่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา และจากหลายปีก่อนที่มีนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ อินโดนีเซีย – มาเลเซีย และไทย ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระบบขนส่งทางการค้าระหว่างประเทศกับภาคใต้ของไทย และล่าสุดก็มีนโยบาย ภายใต้สโลแกน สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ขยายเมืองต้นแบบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ให้มีการเชื่อมต่อทางเรือ ส่งเสริมให้ ท่าเรือสำราญจ.ภูเก็ต เป็นท่าเรือหลักของโลกและยังมีการจัดระบบขนส่งมวลชนทางบกที่ทันสมัย เช่น Monorail ภูเก็ต เพื่อพัฒนาให้ภูเก็ตเป็น Smart City
นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาสนามบินเบตง , โครงการถนนเลียบอ่าวไทย , รถไฟเชื่อมอันดามัน-อ่าวไทย , รถไฟฟ้าหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ที่จะเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างสะดวกสบาย ผลลัพธ์ที่จะตามมาย่อมทำให้เศรษฐกิจการขนส่งและการท่องเที่ยวภาคใต้เติบโตแบบก้าวกระโดดแน่นอน รวมถึงโครงการพัฒนาชายแดนใต้ หนองจิก เบตง และสุไหงโกลก ที่มุ่งเน้นความมั่นคงในพื้นที่ภาคใต้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย
สามเหลี่ยมเบตง
ความคืบหน้าสนามบินเบตง เสร็จปี 2563
ส่วนเรื่องขึ้นชื่อหรือเรียกว่าเป็นของดีในภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็น แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สวยงาม , อาหารการกินที่มีเอกลักษณ์ และอุตสาหกรรมยาง ที่ไทยเป็นแหล่งผลิตที่มากที่สุด ซึ่งการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมแปรรูปยางหาดใหญ่-สะเดา ให้เป็น Rubber City จะเป็นฐานเศรษฐกิจที่จะสร้างรายได้อย่างยั่งยืน และยังเป็นการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีแบบครบวงจร สร้างกระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ในภาคใต้ เช่น การผลิตเครื่องสำอาง การแปรรูปอาหาร เป็นต้น
ระบบโลจิสติกส์ทุ่งสง
นอกเหนือจากนี้แล้ว ภาคใต้ของประเทศไทยยังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นบนบกหรือในทะเลที่มีทั้งน้ำมัน แหล่งก๊าซธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยว แหล่งอาหาร แหล่งประมง ยางพารา และแร่ ถือเป็นด้ามขวานทองที่แท้จริงเลยก็ว่าได้ ซึ่งหากสามารถพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและขับเคลื่อนอย่างเต็มกำลัง ย่อมส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศไทยฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและจะกลับมาเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในย่านนี้ทันที
ทั้งนี้ จากท่ามกลางกระแสข่าวการลงทุน การเปิดศุนย์ประชุม-แสดงสินค้านานาชาติและธุรกิจออนไลน์ที่เกิดขึ้นจำนวนมากในเมืองนครฯ สงขลา และภูเก็ต ก็มีสถาบันการศึกษาในพื้นที่ได้เปิดหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสายงานด้านโลจิสติกส์โดยตรง ได้แก่
1.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
คณะบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ B.B.A. (Logistics Management) หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี 129 หน่วยกิต
2.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ B.Tech. (Industrial Management and Logistics) หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี 128 หน่วยกิต
3.วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ (SCT.)
คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน B.B.A. (Faculty of Management Science) หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี 121 หน่วยกิต
4.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี
5.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วิทยาลัยนานาชาติ
คณะบริหารธุรกิจ สาขาการวิเคราะห์โลจิสติกส์และการจัดการซัพพลายเชน
(หลักสูตรนานาชาติ) ระดับปริญญาตรี 4 ปี
6.มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์ ระดับปริญญาตรี 4 ปี
อย่างไรก็ตาม งานด้านโลจิสติกส์อาจไม่ต้องจบสายตรง เพราะเป็นงานที่สามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์และการลงมือปฏิบัติจริง แต่ผู้ที่จบการศึกษามาโดยตรงย่อมได้เปรียบมากกว่า เนื่องจากงานค่อนข้างมีความซับซ้อน
และหากพูดถึงทักษะและคุณสมบัติของผู้ที่จะสามารถทำงานด้านโลจิสติกส์-ซัพพลายเชนให้ก้าวเป็นมืออาชีพได้นั้น คือ
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved